กำลังติดตาม
สเวตซิกซ์ทีน (อังกฤษ: Sweat16!) เป็นกลุ่มไอดอลเด็กสาวของประเทศไทย ก่อตั้งโดยการร่วมมือระหว่างเลิฟอีสและโยชิโมโต้ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (ไทยแลนด์)[1] โดยมีคอนเซปต์ที่แตกต่างจากวงอื่นตรงที่นำเสนอการออกกำลังกายผสมการร้องการเต้นที่สนุกสนาน[2] โดยสมาชิกทุกคนได้ผ่านการคัดเลือกจากโครงการ Asia Star Audition by Yoshimoto & MCIP ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 และช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 สเวตซิกซ์ทีนได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 กับซิงเกิลแรกในเพลง “วิ่ง (Run!)” ซึ่งดัดแปลงมาจากเพลง Yume no Kakera ของ Shōjo Complex (ญี่ปุ่น: 少女コンプレックス) กลุ่มไอดอลสาวจากประเทศอินโดนิเซียซึ่งเป็นศิลปินร่วมค่ายเดียวกัน[1] โดยเปิดตัวด้วยสมาชิกทั้งหมด 13 คน โดยได้บอย โกสิยพงษ์และสุธี แสงเสรีชนมาช่วยโปรดิวซ์เพลง[1]
สำหรับชื่อวงสเวตซิกซ์ทีน (Sweat16!) นั้นเกิดจากการนำคำสองคำมารวมกัน โดยคำว่า sweat จากภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าเหงื่อ รวมกับตัวเลข 16 ซึ่งคือตัวแทนอายุของผู้หญิงที่เปลี่ยนผ่านจากเด็กสาวสู่วัยรุ่นเต็มตัว เมื่อนำทั้งสองมารวมกันจึงหมายความได้ว่า หยาดเหงื่อของวัยรุ่นที่พยายามวิ่งตามความฝั
พ.ศ. 2559: การออดิชันโครงการ Asia Star Audition 2016[แก้]
เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 บริษัท MCIP Holdings, Yoshimoto Creative Agency และ Yoshimoto Entertainment Thailand ได้จัดโครงการ Asia Star Audition เป็นโครงการค้นหากลุ่มไอดอลเด็กสาวหน้าใหม่ในประเทศไทย[4] โดยก่อนหน้านี้โครงการดังกล่าวได้เคยจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย และได้เปิดตัววง Shōjo Complex ซึ่งนับเป็นกลุ่มไอดอลเด็กสาวที่ประสบความสำเร็จ
พ.ศ. 2560: เปิดตัวอย่างเป็นทางการกับซิงเกิล "วิ่ง"[แก้]
ช่วงต้นปี ทาง Yoshimoto Entertainment Thailand ได้เปิดตัววงครั้งแรกผ่านสื่อมวลชนในงาน Cat T-Shirt 4 ของ Cat Radio โดยในขณะนั้นวงยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ พร้อมร้องเพลงคัฟเวอร์ "Yume no Kakera" ของวง Shōjo Complex เป็นครั้งแรก[5] และในการปรากฏตัวครั้งต่อมา ณ งาน Thailand Comic Con 2017 วงก็ได้ถูกใช้ชื่อเรียกว่า Yoshimoto Idol Group[6] และช่วงเดือนมิถุนายน 2560 ทางต้นสังกัดได้ประกาศว่า Yoshimoto Entertainment Thailand และ LOVEiS+ จะร่วมกันผลิตกลุ่มไอดอลเด็กสาวโดยใช้ชื่อวงอย่างเป็นทางการว่า “สเวตซิกซ์ทีน (Sweat16!)”[7]
ช่วกลางปี ก่อนถึงเดือนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ (Pre-debut) สเวตซิกซ์ทีนได้ออกประชาสัมพันธ์คอนเสิร์ต NMB48 Asia Tour 2017 ร่วมกับวงไอดอล NMB48 ซึ่งเป็นศิลปินร่วมค่ายเดียวกันในเครือโยชิโมโต้[8] ซึ่งจากการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้วงเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 สเวตซิกซ์ทีน ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมกับซิงเกิลแรกในเพลง "วิ่ง (Run!)" และคัฟเวอร์จากวง Shōjo Complex ในเพลง "Merenge no Koi Kokoro", "Kokoro Korokoro Koi Moyō" พร้อมเพลงไทยที่แต่งขึ้นมาใหม่ เพลง "ความทรงจำที่สวยงาม (Beautiful Memories)" โดยได้จัดงานเปิดตัวในลักษณะงานแข่งกีฬาสีที่ CU Sport Complex จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทั้งเพลง "วิ่ง" และ "ความทรงจำที่สวยงาม" นั้นได้บอย โกสิยพงษ์มาแต่งเนื้อร้องภาษาไทย[1]
ช่วงปลายปีนี้เองได้มีการจัดคอนเสิร์ต Sweat16! Tokyo Connection 2017 ในวาระครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 130 ปี ไทย-ญี่ปุ่น โดยมีศิลปินรับเชิญจากญี่ปุ่น 3 ศิลปินคือ fumika, MAMMOSTAR และ Over The Top[9] พร้อมร้องเพลงคัฟเวอร์พิเศษ "Dorian Shōnen" จากวง NMB48 และต่อมาสเวตซิกซ์ทีนได้รับเชิญพิเศษขึ้นร้องเพลงเปิดคอนเสิร์ตให้กับนภ พรชำนิในคอนเสิร์ต The Story of Nop Ponchamni พร้อมกับร้องคัฟเวอร์เพลง "ผ้าเช็ดหน้า" ของวงไทรอัมพ์ส คิงดอมอีกด้วย[10] ในวันที่ 22 ธันวาคม 2560 ได้เปิดตัวซิงเกิลที่สองพร้อมมิวสิควีดีโอ ในชื่อเพลง "มุ้งมิ้ง" ซึ่งดัดแปลงมาจากเพลง "Kokoro KoroKoro Koi Mouyo" ของ Shojo Complex เนื้อเพลงภาษาไทยแต่งโดย บอย ตรัย ภูมิรัตน[11] และเพลงได้นำมาแสดงสดครั้งแรกในงาน COSCOM : Christmas 2017 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต[12]
พ.ศ. 2561: ซิงเกิลที่สอง "มุ้งมิ้ง/ความทรงจำที่สวยงาม" และซิงเกิลที่สาม "TKO"[แก้]
วันที่ 27 มกราคม 2561 สเวตซิกซ์ทีนได้แสดงในงาน Japan Expo Thailand 2018 พร้อมทั้งประกาศกัปตันของวง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งภายในวง และคนที่ได้รับเลือกนั้นคือ แอ๊นท์[13] วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 สเวตซิกซ์ทีนได้รับเชิญแสดงก่อนเริ่มคอนเสิร์ต BOYdKO50th #1 RHYTHM & BOYd THE CONCERT โดยบอย โกสิยพงษ์ ในงานสเวตซิกซ์ทีนยังได้แสดงกับวงมีน ศิลปินร่วมค่ายเลิฟอีสอีกด้วย[14]
ในช่วงต้นปี สเวตซิกซ์ทีนได้เริ่มโปรโมตเพลง "มุ้งมิ้ง" ตามสื่อต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ พร้อมกันนี้ยังเป็นครั้งแรกที่แสดงสดทางโทรทัศน์ อาทิเช่น รายการสนามข่าวบันเทิง ทางช่อง 7[15] รายการข่าวเวิร์คพอยท์ ช่วงห้องข่าวบันเทิง ทางช่องเวิร์คพอยท์ทีวี[16] และรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3[17] นอกจากนี้ยังไปโปรโมทตามสำนักข่าว และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ อีกด้วย[18] ซึ่งช่วงต้นปีนี้เองก็มีจัดกิจกรรมพบปะกับแฟนคลับต่าง ๆ ทุกเดือน อาทิ งาน Sweet with Sweat16! in animate Bangkok ซึ่งจัดขึ้นฉลองครบรอบการเปิดร้าน 2 ปี อีกด้วย มีการจัดงาน SWEAT16! First Fan Meet "Thank You Party" โดยเป็นงานพบปะแฟนคลับและขอบคุณแฟนคลับที่สนับสนุนวงมาตลอด ในงานมีการแสดง และกิจกรรมพิเศษร่วมกับแฟนคลับ[19] และยังได้เป็นแขกรับเชิญพิเศษในคอนเสิร์ต The Truth in Room39 Concert ของวง Room396[20] นอกจากนี้สเวตซิกซ์ทีนยังมีโอกาสเข้าร่วมงาน Okinawa International Movie Festival 2018 (OIMF) พร้อมทั้งเดินพรมแดง และแสดงอีกด้วย[21]
พวกเธอทั้งวงยังมีโอกาสติดรอบออดิชันของวง Yoshimotozaka46[22] โดยมีสมาชิกได้เข้าถึงออดิชันรอบสุดท้าย คือ แอนท์, มิวสิค, พราวด์ ซึ่งผลการตัดสินสุดท้ายแล้วพวกเธอไม่ได้ผ่านเข้ารอบ[23]
ช่วงกลางปีสเวตซิกซ์ทีนได้เข้าร่วมคอนเสิร์ต THE ONE CONCERT : 1035 กระบวนท่าจำ ร่วมศิลปินดังมากมาย เช่น มอส ปฏิภาณ, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น[24] ต่อมาสเวตซิกซ์ทีนมีการเปิดตัวซิงเกิลพิเศษ "ความทรงจำที่สวยงาม" ซึ่งต่อมาเพลงดังกล่าวได้มาประกอบร่วมกันในซีดีซิงเกิลที่ 2 ของ "มุ้งมิ้ง/ความทรงจำที่สวยงาม" และยังมีสมุดภาพที่มีชื่อ 1st Photobook "Beautiful Memories" ออกจำหน่ายตามมาอีกด้วย ต่อมาในกิจกรรม 16! The Idol Cup ได้มีการเปิดตัวซิงเกิลที่ 3 ในชื่อเพลง "TKO"[25]
สมาชิก[แก้]
ชื่อ - นามสกุล | ชื่อบนสเตจ | คาตาคานะ | วันเกิด[26] | อายุ | ความสามารถพิเศษ |
---|---|---|---|---|---|
วรินดา เนินเพิ่มพิสุทธิ์ (Warinda Nernpermpisut) | แอ๊นท์ (Ant) | アント | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 | 23 | เต้นหลากหลายแนว รำไทย การแสดง พิธีกร กัปตันของวง |
จิดาภา จงสืบพันธ์ (Jidapa Chongsubphant) | มิวสิค (Music) | ミュージック | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 | 18 | ร้องเพลง(ทุกแนว) เต้น แอคติ้ง เล่นเปียโน เล่นกีต้าร์ |
ชดาธาร ด่านกุล (Chadatan Dankul) | ม่านมุก (Mahnmook) | マームック | 10 เมษายน พ.ศ. 2537 | 25 | การแสดง ร้องเพลง เต้น พิธีกร กินจุ |
อรรฆพร สร้อยสุข (Akaporn Soisuke) | แอนนี่ (Anny) | アニー | 1 มกราคม พ.ศ. 2547 | 15 | เต้น ร้องเพลง แร็พ เล่นบาส |
ซอนญา ชิษณุชา ดอนเนลลี่ (Sonja Chitsanucha Donnelly) | ซอนญา (Sonja) | ソンャ | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | 18 | ร้องเพลง ว่ายน้ำ ยิงธนู เล่นกีฬา ภาษาอังกฤษ |
พิชชาภา กันตพิชญาธร (Phitchapha Kantapitchayathorn) | นิ้ง (Nink) | ニンク | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 | 17 | ร้องเพลง กีต้าร์ มวยไทย รำไทย ตีขิม ขี่ม้า ภาษาอังกฤษ/ญี่ปุ่น |
วาสนา พิมพ์จันทร์ (Wassana Pimchan) | เอ๋ (Ae) | エー | 21 กันยายน พ.ศ. 2537 | 25 | ตีกลอง |
พิม ขจรเวคิน (Pim Khajonvekin) | พิม (Pim) | ピム | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | 23 | ขิม โยคะ ภาษาญี่ปุ่น ร้องเพลง |
ปภาดา ตันติประสงค์ชัย (Papada Tantiprasongchai) | พาด้า (Pada) | パダー | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2538 | 24 | ร้องเพลง(ได้ทุกแนว) เต้น การแสดง เล่นกีต้าร์แต่งเพลง เป่าฟลูต รำไทย เล่นระนาด |
พรรษา บุณยะกลัมพ (Pansa Boonyakalumpha) | เพชร (Petch) | ペット | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2536 | 26 | ร้อง เต้น รำ |
สุธาสินี เอมทอง (Suthasinee Aemthong) | เฟรม (Fame) | フェーム | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2540 | 22 | ทักษะการพูด แร็พ |
ทสมา เทศน์ธรรม (Tassama Testam) | มิ้น (Mint) | ミント | 8 มกราคม พ.ศ. 2536 | 26 | เป่าทรัมเป็ต เล่นคารีเน็ต วาดรูป ภาษาญี่ปุ่น คุยกับสัตว์รู้เรื่อง |
ปัทมาริษา ปัดภัย (Pattamarisa Padphai) | พราวด์ (Proud) | プラウド | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2545 | 17 | บัลเล่ต์ คอนเทม ทรัมโบน อังกฤษ/ญี่ปุ่น เลียนเสียงเป็ด/สุนัข |
รายชื่อผลงานเพลง[แก้]
ซิงเกิล[แก้]
ปี | ซิงเกิล | รายชื่อเพลง | วันจำหน่าย |
---|---|---|---|
2560 | "วิ่ง" (Run!)[A] | เมษายน 2561 | |
2561 | "มุ้งมิ้ง" (Love Attention) /[D] "ความทรงจำที่สวยงาม" (Beautiful Memories) |
| สิงหาคม 2561 |
"TKO" |
| พฤศจิกายน 2561 | |
"Yakiniku" (ปิ้งย่าง) |
| ธันวาคม 2561 |
เพลงอื่นๆ[แก้]
ปี | เพลง | หมาบเหตุ |
---|---|---|
2561 | "สักวัน" (Destiny) | เพลงประกอบเกม DDTank |
"Sweet Wow Around the world" | เพลงประกอบเกม Blue Marble M |
ผลงานการแสดง[แก้]
มิวสิกวีดีโอ[แก้]
ปี | เผยแพร่ครั้งแรก | ชื่อเพลง | กำกับโดย |
---|---|---|---|
2560 | 7 พฤศจิกายน[30][31] |
วิ่ง (Run!)
|
เอกรินทร์ ศิริจรรยา[32]
|
22 ธันวาคม[33] |
มุ้งมิ้ง (Love Attention)[34]
| Trasher Bangkok[35] | |
2561 | 9 พฤษภาคม[36] |
ความทรงจำที่สวยงาม (Beautiful Memories)
| Ploydao Production[37] |
31 กรกฎาคม |
TKO
| Trasher Bangkok[38] | |
8 สิงหาคม | |||
7 ธันวาคม | ปิ้งย่าง (Yakiniku) |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น